เปลี่ยนสายงาน เขียนเรซูเม่ยังไงดี
เรซูเม่ที่เราเห็นกันอยู่ทุกวันนี้ ส่วนใหญ่อยู่ในรูปของ Chronological Resume ที่เรียงเหมือนกับไทม์ไลน์บนเฟสบุ๊ค กล่าวคือเรียงจากเหตุการณ์ล่าสุดย้อนกลับไปยังเหตุการณ์ที่เก่าที่สุด นี่จึงเป็นเหตุผลว่าทำไมเราจึงเห็นแพทเทิร์นนี้เริ่มต้นด้วย ประสบการณ์การทำงาน เด่นมาแต่ไกล และย้อนกลับไปยัง สถาบันการศึกษา เนื่องจากการให้ความสำคัญกับสิ่งที่มีปัจจุบันมากกว่า อย่างทักษะการทำงานที่สดใหม่ ย่อมดีกว่าของเดิมที่นานวันจะยิ่งลืมเลือนไป
ในการเปลี่ยนสายงานจึงไม่นิยมเขียนในรูปแบบดังกล่าว เหตุเพราะ จุดขาย ของเราเปลี่ยนไปเดิม จากประสบการณ์การทำงาน กลายเป็นเน้น ทักษะความสามารถที่นำไปต่อยอดในงานใหม่ได้ (Transferable Skills) รูปแบบนี้ถูกเรียกว่า Functional Resume อย่างที่ปรากฏในรูปด้านล่างนี้
ส่วนที่ 1 แนะนำตัว
เริ่มต้นการเขียนเรซูเม่ด้วยการแนะนำตัวอย่าง ชื่อและข้อมูลติดต่อ ของคุณให้เรียบร้อย
ส่วนที่ 2 สรุปทักษะความสามารถ
เปิดตัวข้อด้วยการกล่าวสรุปทุกอย่างที่ปรากฏบนเรซูเม่ด้วย 1 พารากราฟ เพื่อเป็นการปูความเข้าใจและแจ้งให้ผู้อ่านทราบว่า คุณรู้ว่าตำแหน่งที่สมัครไม่ตรงกับสายงาน ซึ่งไม่ได้เป็นการสมัครงานผิดตำแหน่ง หากแต่เป็นความตั้งใจที่จะเปลี่ยนสายงาน เทคนิคการเขียนโน้มน้าวใจครอบคลุมหัวข้อดังต่อไปนี้
- คุณเชี่ยวชาญทางด้านไหน
- เขียนให้ชัดไปเลยว่าคุณอยากเปลี่ยนสายงานจากที่ทำอยู่ไปตำแหน่งที่สมัคร
- ให้เหตุผลประกอบว่าทำไมคุณถึงเห็นว่าสายงานนี้เหมาะสม หรือ หยิบยกเอาทักษะความสามารถที่สามารถนำมาต่อยอดกับตำแหน่งนี้ได้
ส่วนที่ 3 คีย์เวิร์ดทักษะความสามารถ
ถ้า HR มองข้ามย่อหน้าด้านบนไป พื้นที่ตรงนี้จะเป็นประโยชน์เวลาที่ HR กวาดสายตาค้นหาคีย์เวิร์ดสำคัญที่เกี่ยวข้องกับตำแหน่งงาน คุณจึงจำเป็นต้องอ่านรายละเอียด Job Description ให้ดี เพื่อหาคำเหล่านั้นและนำมาปรับใช้กับเรซูเม่ของคุณเอง ถ้าหากว่าคุณลงเรียนคอร์สต่างๆ ที่เกี่ยวข้องสามารถไฮไลท์ทักษะสำคัญ เพิ่มเติมหัวข้อลงได้ตรงส่วนนี้
ข้อควรระวัง: ต่างอุตสาหกรรมอาจมีคำเรียกหรือศัพท์เฉพาะที่ไม่เหมือนกัน ดังนั้นคุณจึงต้องทำการศึกษาในอุตสาหกรรมหรือตำแหน่งที่คุณสมัครเพื่อเลือกใช้คำที่ถูกต้อง โดยไม่เหมารวมว่าทุกคนจะเข้าใจคำศัพท์เฉพาะนั้น
ส่วนที่ 4 ประสบการณ์
หัวใจของการทำเรซูเม่แบบ Functional อยู่ตรงส่วนนี้ มันคือการที่คุณพยายามโน้มน้าวให้ผู้อ่านเห็นทักษะที่คุณมีซึ่งสามารถนำไปต่อยอดกับตำแหน่งงานที่สมัครได้ ไม่ต่างกับแคนดิเดทที่ทำงานมาตรงสาย คุณจึงจำเป็นต้องแยกเป็นหัวข้อชัดเจน ตามขอบเขตความรับผิดชอบของงานที่ปรากฏบนประกาศรับสมัคร
เพิ่ม Bullet Point เป็นข้อๆ สะดวกต่อการอ่าน และแสดง ตัวเลข ของผลงานในสายงานเดิมที่จะสะดุดตาผู้อ่านมากกว่าตัวหนังสือ เช่น ตัวเลขยอดขาย กำไรที่เพิ่มขึ้นเป็นเปอร์เซ็นต์ ฯลฯ โดยจะยิ่งทำให้เรซูเม่ของคุณมีน้ำหนักและน่าสนใจมากขึ้น
หัวใจของการทำเรซูเมเพื่อเปลี่ยนสายงานอยู่ตรง การโน้มน้าวให้ผู้อ่านเห็นทักษะที่คุณมี ซึ่งสามารถนำไปต่อยอดกับตำแหน่งงานที่สมัครได้ ไม่ต่างจากแคนดิเดทที่ทำงานมาตรงสาย
ส่วนที่ 5 ประวัติการทำงาน
ลดความสำคัญของประวัติการทำงานที่ไม่เกี่ยวข้องลง ให้เหลือเพียงชื่อตำแหน่ง บริษัทและระยะเวลาการทำงาน เนื่องจากเราได้ไฮไลท์หน้าที่รับผิดชอบที่เกี่ยวข้องรวบรวมไว้แล้วในส่วนก่อนหน้า อย่าลืมว่าต้องเรียงลำดับประวัติการทำงานจากสถานประกอบการล่าสุดย้อนกลับไปยังสถานประกอบการก่อนหน้าเสมอ
ส่วนที่ 6 ประวัติการศึกษา
หากคุณจบจากสายที่เกี่ยวข้องกับตำแหน่งที่สมัครเอาไว้ คุณสามารถย้ายส่วนนี้ขึ้นไปแสดงถัดจาก ส่วนที่ 3 คีย์เวิร์ดทักษะความสามารถ ได้เลย แต่ถ้าสาขาที่จบไม่ได้มีความเกี่ยวข้องกับตำแหน่งงานก็ให้วางไว้ในลำดับสุดท้าย
ที่มา : Glassdoor, TheBalanceCareers
Jitkarn Sakrueangrit
Graphic & Web Designer, Content Creator,
Copywriter, Marketing Specialist
คุณน่าจะชอบเรื่องเหล่านี้
6 สัญญาณ ถึงเวลาที่คุณต้องเปลี่ยนงานแล้ว
อยากลาออก เปลี่ยนงานไปทำที่อื่น แต่ไม่รู้ว่าเป็นการตัดสินใจที่ถูกหรือผิด ยิ่งในช่วงเวลาที่งานหายากแบบนี้ ไปตายเอาดาบหน้าดีมั้ย?
รวม 7 ขั้นตอนที่คนอยากเปลี่ยนสายงานต้องอ่าน
เมื่อเปลี่ยนงานอย่างเดียวไม่ใช่ทางออกอีกต่อไป ก็เปลี่ยนสายงานไปเลยสิคะ เออ! พลิกชีวิตคนทำงานให้ปัง…เตรียมตัวอย่างไรหากต้องเปลี่ยนสายอาชีพ