Remote Working ทำงานทางไกลดีต่อใจจริงไหม

ชินชากับการ WFH จนกลายเป็น New Normal ของตัวเองไปแล้ว จะกลับไปทำงานที่ออฟฟิศที่มากคนมากความอีกก็กลัวว่าจะรับมือไม่ไหว ก็หางาน Remote Working ไปเลยสิ!

จากเทรนด์การทำงานโลกที่เปลี่ยนไปเมื่อโควิดเข้ามาแทรกแซงเมื่อปี 2019 ทำให้หลายบริษัทปรับนโยบายการทำงานใหม่แบบยกเครื่อง และมีแนวโน้มว่าจะกลายเป็น New Normal มากขึ้นเรื่อยๆ สังเกตุได้จากสตาร์ทอัพส่วนใหญ่ที่ไม่จำเป็นต้องมีสำนักงานใหญ่โตเพื่อรองรับพนักงาน แต่ใช้พื้นที่ Co-working Space สำหรับนัดหมายการประชุมเป็นครั้งคราวเท่านั้น มนุษย์เงินเดือนผันตัวมาทำงานทางไกลหรือ Remote Working กันมากขึ้น ไม่จำเป็นต้องเดินทางอีกแล้ว เลี่ยงการสัมผัส แถมประหยัดเวลา แต่จากการทำงาน Work From Home ที่ผ่านมา ทำเอาหลายคนขวัญผวา เพราะไม่ใช่ทุกคนที่จะสามารถปรับตัวให้เข้ากับรูปแบบการทำงานแบบนี้ได้หมด 

เช็คลิสค์ งาน Remote Working เหมาะกับเราหรือเปล่า
✅ มองหาความยืดหยุ่นและอิสรภาพด้านสถานที่มากกว่าการเติบโตในระยะยาว
✅ จัดสรรเวลาได้อย่างใจ ตาม Time Zone บริษัทที่เลือก
✅ เป็นคนโลกส่วนตัวสูง ชอบทำงานคนเดียวในห้อง ไม่ต้องการสิ่งรบกวน
✅ ยอมรับว่าเข้าถึงข้อมูลบริษัทได้น้อยกว่า
✅ มีช่องว่างของการสื่อสารในการสร้างปฏิสัมพันธ์กับคนในทีมและนอกทีม
✅ ความสามารถในการจัดสรรเวลาและตารางงานเป็นเลิศ

หากคุณเป็นอีกคนหนึ่งที่กำลังชินกับระบบ WFH แล้ว และรู้สึกว่าการกลับไปทำงานที่ออฟฟิศสร้างความไม่สบายใจ ในขณะเดียวกันคุณยอมรับกับข้อได้เปรียบ-เสียเปรียบของการทำงานทางไกลแล้ว บางทีนี่อาจถึงเวลาที่คุณรับงานประเภทนี้อย่างจริงจังก็ได้ บทความนี้จะช่วยให้คุณมีแนวทางในการค้นหางานในฝันได้เร็วมากยิ่งขึ้น

เลือกอ่านเฉพาะหัวข้อ

1. หางานให้ถูกที่

‘ชีวิตเหมือนเรือ ต้องมีหางเสือกำกับ’ ขั้นตอนแรกในการหางาน Remote Working ให้ประสบความสำเร็จ คือ ต้องกำหนดเป้าหมายของตัวเองก่อน คุณอยากได้งานอะไร อุตสาหกรรมไหน วัฒนธรรมองค์กรเป็นอย่างไร ฯลฯ เพื่อกรอบการค้นหาของคุณให้แคบที่สุด เพราะในกรณีที่หางานไม่ได้ก็สามารถฟิลเตอร์งานให้กว้างขึ้น ตัดตัวเลือก สวัสดิการ หรือสิ่งที่คุณไม่ได้ซีเรียสว่าต้องมีออกไปทีละอย่างนั่นเอง

คุณต้องแยกให้ออกว่างานฟรีแลนซ์นั้นเป็นส่วนหนึ่งใน Remote Working เพราะมีคอนเซ็ปต์ที่คล้ายกันมาก ต่างกันที่สถานะและสวัสดิการ ถ้าคุณไม่อยากยอมรับความเสี่ยงมาก จงค้นหา ตำแหน่งพนักงานประจำ แต่รูปแบบการทำงานเป็นแบบทางไกลแทน โดยในประเทศไทยนั้น HR มักจะมีการโพสต์ประกาศหางานตามสื่อต่างๆ ดังต่อไปนี้

  • กลุ่มเฟสบุ๊ค : พิมพ์ตรงช่องค้นหาไปตรงๆ ว่า หางาน Remote
  • JobsDB : เว็บไซต์หางานอันดับหนึ่งในประเทศไทย พิมพ์ตรงช่องค้นหาได้เลยว่า Remote
  • Glassdoor : ก้าวสู่ระดับสากล หางานบริษัทต่างชาติข้ามเขตไทม์โซน
  • LinkedIn : แพลตฟอร์มมืออาชีพที่ทุกบริษัทต้องมี

ณ ปัจจุบันนี้ งาน Remote Working ส่วนใหญ่ยังคงจำกัดไว้เฉพาะงานบางจำพวกเท่านั้น โดยเฉพาะงานด้านไอที ที่เหล่าโปรแกรมเมอร์มีแค่โน๊ตบุ๊คเครื่องเดียวก็สามารถส่งต่องานได้แล้ว ในขณะที่งานที่ต้องจัดการเอกสารอย่างบัญชียังต้องมีการเข้าไปบริษัทอยู่ อย่าลืมตรวจสอบว่าตำแหน่งงานของคุณเป็นที่ยอมรับแล้วหรือยังว่าสามารถทำงานจากที่บ้านได้ไม่มีปัญหา

🔗 อ่านเพิ่ม รวมแหล่งหางาน สมัครงาน บริษัทชั้นนำในประเทศไทย

2. พาตัวเองไปสู่โอกาส

คุณไม่จำเป็นต้องรอให้ HR เข้ามาทักคุณ ในเมื่อวันนี้คุณสามารถสร้างโอกาสเหล่านั้นได้ด้วยตัวเอง หาข้อมูลบริษัทที่คุณอยากทำงานด้วย จัดการติดต่อพวกเขาโดยตรงเพื่อสร้างเครือข่ายของคุณเอง ใช่แล้ว…ยิ่งรู้จักคนเยอะ ยิ่งได้เปรียบในโลกที่การแข่งขันในตลาดแรงงานสูงแบบนี้ แม้ว่ามันอาจจะฟังดูขัดกับ Remote Working ไปสักหน่อยแต่เพื่อให้ได้งานทางไกลนี้มา คุณควรวางแผนที่จะพาตัวเองออกไปพบปะกับพวกเขาเหล่านั้นซึ่งๆ หน้าแบบ Face to Face สร้างความสัมพันธ์ได้ดีและลึกซึ้งมากกว่าการคุยผ่านอินเตอร์เน็ต โดยอาจเป็นการออกไปนั่งหางานที่ Coworking Space เพราะพนักงานฟรีแลนซ์ พนักงาน Remote และเจ้าของธุรกิจส่วนมากมักทำงานอยู่ที่นั่น

จงเอาชนะความกลัวของตัวเอง อย่าเอาแต่นั่งลงและคาดหวังว่าโอกาสเหล่านั้นจะเดินมาหาคุณเลย จงเริ่มแนะนำตัวเองกับคนอื่น โดยปกติ มักจะเป็นพื้นที่เปิด พนักงานเดินไปมากันอยู่แล้ว หรือมีกิจกรรมต่างๆ อย่างการกินกาแฟ ปาร์ตี้เล็กๆ Cocktail-Time เพื่อสร้างเครือข่าย (มักจะมีช่วงวันตอนเย็นศุกร์) ใช้โอกาสที่มีในการทำความรู้จักพวกเขา แจ้งให้พวกเขาทราบว่าคุณทำอะไร และที่สำคัญไปกว่านั้นคือ คุณกำลังอยู่ในช่วงมองหางานทางไกล หากพื้นที่เหล่านั้นแบ่งเป็นสัดส่วนและมีพาร์ทิชั่นกั้นเอาไว้ ให้สแกนหาโซนที่เปิดอยู่ ค้นหาบุคคลที่ดูเป็นกันเอง หรือแอบฟังพวกเขาเวลาคุยกันเพื่อจะการคาดเดาที่ถูกต้องว่าเราข้าหาถูกคน

3. รู้เขารู้เรา รบร้อยครั้งชนะร้อยครั้ง

อย่าสวนกระแสตลาด มองหางานที่มีความต้องการน้อยอันหมายถึงอัตราการแข่งขันที่สูงลิบลิ่ว ซึ่งแนวโน้มการทำงานแบบ Remote ในปัจจุบันล้วนเกี่ยวข้องกับตำแหน่งงานด้านไอที, รีครู๊ทเตอร์ (พนักงานจัดหางาน), การตลาดดิจิตอล, กราฟิกดีไซน์ เป็นต้น คุณจำเป็นต้องศึกษาความต้องการของตำแหน่งงานที่โพสต์ประกาศเหล่านั้นอย่างตั้งใจ เพื่อหาคุณสมบัติที่เป็นที่ต้องการลำดับต้นๆ เทียบกับทักษะที่คุณมีประกอบ นอกจากนี้บริษัทยังคาดหวัง Soft-Skill อย่าง

  • ความเป็นผู้นำ (Leadership) : สามารถรับผิดชอบในหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย ดูแลตัวเองได้โดยไม่ต้องให้ใครมาคอยกำชับว่าต้องทำอะไร 
  • ความคิดริเริ่ม (Initiative) : เมื่อเกิดปัญหาขึ้น สามารถแก้ไขมันได้ด้วยตัวเองจนนำไปสู่วิธีการทำงานใหม่ๆ หรือนวัตกรรมใหม่ๆ ที่ช่วยให้ทำงานง่ายขึ้น ลดข้อผิดพลาดได้มากขึ้น
  • ความน่าเชื่อถือ (Reliability) : แม้จะไม่ได้อยู่ในสายตา ก็เป็นที่น่าไว้วางใจขององค์กรได้ ด้วยประสิทธิภาพและคุณภาพของงานที่ส่ง ไม่หนีหายเมื่อมีการประชุมกระทันหัน
  • ทักษะการสื่อสาร (Communication) : เป็นทักษะที่สำคัญที่สุด เนื่องจากการสื่อสารซึ่งๆ หน้าว่ายากแล้ว การสื่อสารผ่านตัวกลางอาจเป็นอุปสรรคให้มันยากยิ่งขึ้นไปอีก ดังนั้นถ้าคุณสามารถสื่อสารได้อย่างชัดเจน เข้าใจง่าย ก็จะได้คะแนนเพิ่มไปเลย
  • การจัดสรรเวลา (Time-Management) : เพราะการทำงานที่บ้านมีปัจจัยภายนอกมาเกี่ยวข้องด้วยและไม่ได้เอื้อต่อการทำงานแบบ 100% ทักษะการจัดสรรเวลาให้ทันกำหนดส่งงานเดดไลน์จุงเป็นเรื่องจำเป็น

ประเด็น คือ การสมัครงานทางไกลนั้นแทบจะไม่มีอะไรที่แตกต่างจากการสมัครงานปกติ คุณต้องเข้าใจตัวเองอย่างถ่องแท้ ชูจุดเด่นของตัวเองออกมาขายให้ผู้สัมภาษณ์รู้ว่าคุณ มีดีและแตกต่างจากผู้เข้าสมัครคนอื่นอย่างไร เป็นการย้ำให้พวกเขารู้ว่าตัดสันใจไม่ผิดแน่ๆ ถ้าเลือกรับคุณเข้าทำงานโดยพิจารณาจากความสามารถข้างต้น

4. ตามให้ทันเทคโนโลยี

ในความเป็นจริง เทคโนโลยีเป็นเรื่องใกล้ตัวที่ไม่ควรมองข้ามอยู่แล้ว แต่มันจะยิ่งสำคัญและมีบทบาทมากขึ้นไปอีกทันทีที่คุณกลายเป็นพนักงาน Remote Working แบบเต็มตัว คุณต้องแน่ใจว่ามีเครื่องมือและซอฟต์แวร์ที่อัปเดตอยู่เสมอ และพร้อมสำหรับการรันโปรแกรมได้สมบูรณ์เต็มประสิทธิภาพเนื่องจากงานทั้งหมดต้องทำผ่านทางออนไลน์ ซึ่งคุณยังสามารถใช้ความรู้ตรงจุดนี้เสริมความมั่นใจให้นายจ้างเลือกรับคุณเข้าทำงานด้วย 

นอกจากนี้ อย่างที่ทราบว่าคุณต้องใช้เทคโนโลยีในการหางาน ณ ยุคปัจจุบัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อพูดถึงขั้นตอนการสัมภาษณ์ งาน Remote เกือบทั้งหมดเป็นการสัมภาษณ์งานผ่านทางวิดีโอคอล ดังนั้น จงแน่ใจว่า คุณไม่เพียงแต่เข้าใจวิธีการใช้เทคโนโลยีที่เกี่ยวข้อง แต่ยังทดสอบมันก่อนการสัมภาษณ์ เพราะคุณคงไม่อยากขายหน้าเพียงเพราะเพื่อจะพบว่าไมโครโฟนไม่มีเสียงหรือกล้องไม่ทำงาน อันสะท้อนถึงความไม่พร้อมที่จะทำงานประเภทนี้อย่างแรง

นักวิเคราะห์มองว่าภายในปี 2028 จะมีบริษัทกว่า 73% จะมีการส่งเสริมและสนับสนุนการทำงานทางไกลกันมากขึ้น เพื่อประหยัดค่าใช้จ่ายที่บริษัทต้องเช่าพื้นที่รวมถึงค่าเสื่อมอื่นๆ จะมัวเสียเงินและเวลากันทำไมในเมื่อเราสามารถเชื่อมต่อถึงกันได้ภายในคลิกเดียว ปรับตัวเสียตั้งแต่วันนี้ ดีกว่าต่อต้านการเปลี่ยนแปลงที่จะทำให้คุณถูกทิ้งไว้ข้างหลัง

ที่มา : The Muse

แชร์บทความ :
Jitkarn Sakrueangrit

Jitkarn Sakrueangrit

Graphic & Web Designer, Content Creator,
Copywriter, Marketing Specialist

คุณน่าจะชอบเรื่องเหล่านี้

สอนถ่ายรูปสมัครงานด้วยตัวเอง Step-by-Step by Find Your Job

สอนถ่ายรูปสมัครงานด้วยตัวเอง Step-by-Step

รูปสมัครงาน คือ ไอเทมสำคัญในการสมัครงานที่ขาดไม่ได้ แต่ค่าถ่ายรูปแพงจนทำให้การยื่นใบสมัครแต่ละที่ต้องคิดแล้วคิดอีกว่า คุ้มค่ากับการแนบรูปไปรึเปล่า

อ่านเลย »
ออกแบบเรซูเม่ เก๋ไม่ซ้ำใคร ด้วยการใส่ใจกับ Personal Branding by Find Your Job

ออกแบบเรซูเม่ไม่ซ้ำใคร ใส่ใจกับ Personal Branding

บอกเล่าเรื่องราวของคุณผ่านเรซูเม่ สร้าง Personal Branding ที่ทำให้คุณโดดเด่นท่ามกลางผู้สมัครนับร้อยนับพัน HR ก็จะยังจดจำคุณได้เสมอ

อ่านเลย »

คุณรับทราบและยินยอมว่า การใช้งานเว็บไซต์นี้มีการเก็บข้อมูลคุ๊กกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์ในการใช้บริการ อ่านข้อมูลเพิ่มเติม