ถูก HR ถามตอนสัมภาษณ์ว่า ข้อเสียของคุณคืออะไร Find Your Job

ถูก HR ถามตอนสัมภาษณ์ว่า “ข้อเสียของคุณคืออะไร?”

เวลาถูกถามถึงข้อเสียในการสัมภาษณ์งานทีไร อดคิดไม่ได้ว่าถ้าพูดออกไปจะทำให้ไม่ได้งาน แต่ก็ไม่อยากโกหกหรือพูดสิ่งที่มันสวนทางกับความเป็นจริง

ทำไม HR ต้องถามคำถามนี้กันนะ?
ในโลกของการสัมภาษณ์งาน ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าแทบทุกคน ที่ต้องโดนถามคำถามสัมภาษณ์งานอย่างการถามถึงข้อเสียให้ใจแป้ว ใครจะอยากบอกข้อเสียของตัวเองกันเล่า?!? ไม่ใช่เรื่องที่น่าฟัง ถ้า HR รับคำตอบไม่ได้ โอกาสที่จะได้งานนี้ก็คงอันตรธานไปกับสายลม จริงอยู่ที่นัยยะสำคัญของคำถามนี้ คือ ต้องการทราบว่า เรามีคุณสมบัติเหมาะสมที่จะทำงานหรือไม่ แต่ยังเชื่อมโยงถึงปัจจัยอื่นๆ ที่แสดงว่า คุณสามารถเรียนรู้งานและจัดการกับความท้าทายใหม่ๆ ได้ ด้วยเหมือนกัน ดังนั้น จงมองว่าเป็นโอกาสทองในการแสดงให้เห็นว่าเรามีคุณสมบัติเหมาะสมสำหรับงานนี้…แทนที่จะกลัวมันดีกว่า

🔗 อ่านเพิ่ม จุดแข็งของคุณคืออะไร ตอบยังไงให้ได้งาน

เลือกอ่านเฉพาะหัวข้อ

แนวทางการตอบคำถาม “ข้อเสียของคุณคืออะไร?”

(1) โฟกัสทักษะที่ไม่จำเป็นหรือไม่ได้เกี่ยวข้องกับตำแหน่งงานที่สมัครโดยตรง เพื่อลด ‘บาดแผล’ และผลกระทบต่อการตัดสินใจว่าจ้างให้น้อยลง
(2) เลือกพูดถึงทักษะที่ไม่แข็งแรงซึ่งคุณพยายามปรับปรุงหรือกำลังแก้ไขให้ดีขึ้น
(3) เปลี่ยนจุดด้อยให้เป็นจุดเด่นซะเลย

มีข้อดีอยู่ในข้อเสียของคุณทุกข้อ คุณแค่ต้องหามันให้เจอ และนี่คือตัวอย่างการใช้แนวทางการตอบคำถามเหล่านี้ในการสร้างคำตอบที่น่าประทับใจจน HR ต้องยกนิ้วให้

มันมีข้อดีอยู่ในข้อเสียพวกนั้นทุกข้อแหละ คุณแค่ต้องหามันให้เจอ

1. ความอดทน

(3) การทำงานเป็นทีมทำให้ผมอึดอัดอยู่บ่อยครั้ง ผมค่อนข้างมั่นใจมากกว่าที่จะทำงานคนเดียวเพราะไม่ชอบพึ่งพาคนอื่นครับ (1) นั่นจึงเป็นเหตุผลที่ว่าทำไม ผมถึงเลือกงานที่สามารถจบงานได้ด้วยตัวเองอย่างอิสระ แต่ผมก็ไม่ได้นิ่งนอนใจนะ (2) ยังสมัครเข้ากิจกรรม workshop ของบริษัทอยู่บ่อยๆ ยังไงก็แล้วแต่ ผมต้องเรียนรู้ในการเชื่อใจเพื่อนร่วมงานและขอความช่วยเหลือคนอื่นถ้ามันจำเป็นอยู่ดี”

✅ คำตอบนี้เวิร์คเนื่องจากเป็นทักษะที่ไม่ได้มีความเกี่ยวข้องกับงานโดยตรง (กรณนี้คือ ตำแหน่งดังกล่าวไม่จำเป็นต้องทำงานเป็นทีม) อีกทั้งยังเป็นการแสดงจุดขายแบบเนียนๆ กลืนไปกับบริบทรอบข้าง ปิดท้ายคำตอบได้น่าประทับใจด้วยการไม่ละเลยถึงข้อเสีย ความพยายามที่จะแก้ไขทักษะการเข้าสังคมอันเป็นทักษะที่จำเป็นในการเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมองค์กร

2. การจัดการ

(1) พลอยมีปัญหาเรื่องการจัดการค่ะ จริงๆ ก็ไม่เคยส่งผลกระทบกับการทำงานหรอกของเราเลยนะคะ แต่ส่วนตัวแล้ว โต๊ะทำงานที่รกๆ หรืออีเมล์ขึ้นแจ้งเตือนไม่ได้อ่านมันรบกวนจิตใจเรามาก เลยอดไม่ได้ที่จะต้องรีบจัดโต๊ะและอ่านอีเมล์ทันทีที่ได้รับค่ะ (2) แต่พอเวลาผ่านไป ก็ได้เรียนรู้แล้วว่าเราควรจัดสรรเวลาให้ถูกต้อง เหมาะสมกว่านี้​ ซึ่งจะให้ประสิทธิภาพการทำงานที่ดีกว่ามาก”

✅ การพูดถึงเรื่องที่ผู้สัมภาษณ์นึกภาพตามได้อย่างเรื่องโต๊ะทำงานที่เต็มไปด้วยกองเอกสารและอีเมล์ที่ไม่ได้อ่านอีกนับร้อย จะทำให้พวกเขาคล้อยตามได้ง่ายขึ้น โดยการจัดการที่แย่ในคำตอบนี้ไม่ได้สร้างผลกระทบที่รับไม่ได้แต่เป็นข้อเสียที่สามารถแก้ไขได้ ลงท้ายด้วยการแก้ไขปัญหานั้นด้วยตัวเอง แสดงถึงความเป็นผู้ใหญ่และการตระหนักรู้ของตนเองอีกด้วย

3. ความไม่กล้า

“บ่อยครั้งมาก ที่ผมจะรู้สึกกลัวเวลาให้ฟี้ดแบกกับเพื่อนร่วมงานและหัวหน้าเพราะผมไม่อยากทำร้ายจิตใจใคร แต่ในตำแหน่งงานล่าสุด (2) มีเพื่อนร่วมงานคนนึงให้ผมช่วยแก้ไขงานให้ รวมถึงข้อเสนอแนะว่าต้องปรับปรุงตรงไหนบ้าง มันทำให้ผมเรียนรู้เลยว่าการให้ฟี้ดแบกไม่ได้แย่เสมอไป มันสามารถสร้างประโยชน์ได้ถ้าทำถูกที่ถูกทาง (3) หลังจากนั้นผมเลยกลายเป็นคนที่กล้าให้ข้อมูลที่ดีกับคนอื่นได้ ความเห็นอกเห็นใจสามารถใช้ในการให้ข้อเสนอแนะได้อย่างมีประสิทธิภาพ”

✅ เป็นคำตอบที่ดีมาก เปลี่ยนจุดอ่อนอย่าง ความไม่กล้า ให้กลายเป็นจุดแข็งได้อย่างน่าสนใจจากประสบการณ์ตรงที่มีการตกผลึกมาแล้ว สร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้สัมภาษณ์ในเรื่องของความเป็นผู้นำ (Leadership Skills)

4. ความตรงไปตรงมา

(2) นิสัยตรงไปตรงมาของดิฉัน ช่วยให้ดิฉันประสบความสำเร็จมาหลายปีในฐานะผู้จัดการทีม ด้วยความที่เราซื่อสัตย์แบบนี้ทุกอย่างจึงสำเร็จได้โดยง่าย แต่วันนึงเราก็พบว่า ความตรงไปตรงมากับพูดจาขวานผ่าซากมันมีเส้นบางๆ กั้นอยู่ เราอาจทำร้ายจิตใจลูกน้องอยู่ก็ได้ เราเลยพยายามพัฒนาทักษะด้านสังคมอย่างการเห็นอกเห็นใจ จะต้องเข้าไปนั่งในใจลูกน้องให้ได้ ก็มีเข้าออนไลน์คอร์สเรื่องการจัดการภาวะผู้นำ แล้วก็ทำงานกับผู้เชี่ยวชาญเพื่อพัฒนาความสามารถในการให้ฟี้ดแบกโดยไม่ทำร้ายใครค่ะ”

✅ หลายครั้งที่ตำแหน่งผู้จัดการถูกมองว่าแย่เพราะมี EQ ที่แย่ ควบคุมอารมณ์ตนเองไม่ได้จึงเผลอพูดอะไรที่ไม่ถนอมน้ำใจลูกน้องสักเท่าไหร่ ในกรณีนี้ผู้พูดรู้ดีว่าข้อเสียของเธอนั้นปิดกั้นความสามารถที่จะทำงานของผู้อื่น ในขณะที่ผู้นำที่ดีต้องสามารถดึงศักยภาพของพวกเขาออกมาให้ได้ เธอจึงพยายามแก้ไขอย่างหนักเพราะนี่เป็นหนึ่งในทักษะที่จำเป็นของคนเป็นหัวหน้า

5. การพูดในที่สาธารณะ

(1) ผมจะประหม่าเวลาพูดต่อหน้าคนอื่นครับ แม้ผมจะเป็นเว็บดีไซเนอร์ที่ไม่ต้องเจอคนบ่อย (2) แต่ผมเห็นว่าทักษะนี้สำคัญโดยเฉพาะเวลาที่ต้องการแสดงความคิดเห็นอะไรในที่ประชุม ผมเลยลองคุยกับหัวหน้าซึ่งเธอให้คำแนะนำให้ผมพูดคุยกับแต่ละทีมเกี่ยวกับแผนของโครงการ ระยะเวลา วันกำหนดส่ง และเป้าหมายในการพัฒนาเว็บไซต์ให้ลูกค้า พอได้ลองมันหลายๆ ครั้ง ก็ช่วยลดอาการตื่นเต้นลงได้”

✅ การโฟกัสถึงทักษะที่ไม่ได้จำเกี่ยวข้องกับงานโดยตรง ไม่เพียงแต่เป็นการหลีกเลี่ยงบาดแผลใหญ่ แต่ยังเป็นโอกาสที่คุณสามารถแสดงความกระตือรือร้นในการพัฒนาตัวเองไปอีกขั้นทั้งที่ไม่ได้จำเป็นขนาดนั้น ด้วย Mindset ของการกระหายการเติบโตแบบนี้จะช่วยให้ผู้สัมภาษณ์มองเห็นอนาคตของตัวคุณที่จะก้าวไปพร้อมๆ กับองค์กรของพวกเขาได้อย่างง่ายดาย

ท้ายที่สุดนี้ คุณต้องไม่ลืมว่าคำตอบที่ดีที่สุดไม่ควรมาจากการโกหกเพื่อให้ได้คะแนนสัมภาษณ์อันดับต้นๆ แต่เป็นการที่คุณซื่อสัตย์ในการสัมภาษณ์ด้วยการพูดความจริง เสริมด้วยเหตุผลที่น่าเชื่อถือ ส่งเสริมคำตอบของคุณให้ดูหนักแน่น ไม่มีใครในโลกนี้สมบูรณ์แบบหรอก เราต่างก็มีจุดด่างพร้อยที่สวยงามในชีวิตกันทั้งนั้นแหละ คุณแค่ต้องหาข้อดีของมันให้เจอเท่านั้นเอง

ที่มา : Hubspot, Thebalancecareers

แชร์บทความ :
Jitkarn Sakrueangrit

Jitkarn Sakrueangrit

Graphic & Web Designer, Content Creator,
Copywriter, Marketing Specialist

คุณน่าจะชอบเรื่องเหล่านี้

calculator salary money numbers

เปลี่ยนงานเรียกเงินเดือนเท่าไหร่ดี (พร้อมสูตรคำนวณ)

กรอกใบสมัครงานทีไร ไม่รู้จะใส่เลขตรงช่องใส่เงินเดือนที่คาดหวัง (Expected Salary) เท่าไหร่ดี เปลี่ยนงานทั้งทีควรเรียกเงินเพิ่มกี่บาท?

อ่านเลย »
รอผลสัมภาษณ์งานแบบไม่เสียเวลาเปล่า by Find Your Job

รอผลสัมภาษณ์งาน…แบบไม่เสียเวลาเปล่า

สัมภาษณ์งานจบไปหลายวัน แต่ HR ยังไม่ติดต่อกลับมาแจ้งผลสัมภาษณ์สักที ยิ่งรอนาน นับวันยิ่งทรมาน ทำยังไงดี? รับมือกับการรอผลสัมภาษณ์นานขนาดนี้

อ่านเลย »

คุณรับทราบและยินยอมว่า การใช้งานเว็บไซต์นี้มีการเก็บข้อมูลคุ๊กกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์ในการใช้บริการ อ่านข้อมูลเพิ่มเติม